สรุปการบรรยายของ ผศ. พญ. ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร หัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์ โภชนศาสตร์คลินิก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ณ สถานทูตเดนมาร์ก ประจำประเทศไทย
1. 2.5% ของรายจ่ายรัฐบาล จ่ายเพื่อความอ้วน
2. 30% ของคนอ้วน มีปัญหาเรื่องซึมเศร้า เนื่องจากร่างกายมีไขมันเยอะ และไขมันที่เยอะ ทำให้สารเคมีในร่างกายเสียสมดุล ฮอร์โมนทำงานได้ไม่ดี
3. วิธีเช็คว่าตัวเองอ้วนไหม 1) หาค่า BMI = น้ำหนัก (kg.) / (ส่วนสูง (m.) ยกกำลังสอง) และ 2) วัดเส้นรอบเอว ที่จุดกึ่งกลางระหว่างซี่โครง และกระดูกเชิงกราน ผู้หญิงไม่เกิน 80 cm. ผู้ชาย ไม่เกิน 90 cm.
4. “ผู้หญิงสะโพกใหญ่ ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน” เนื่องจากการสะสมไขมันในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เกิดโรคไม่เหมือนกัน ยกเว้น มีทั้งพุง และสะโพก
5. “น้ำหนักลด 15 กก. หายจากเบาหวานได้” งานวิจัยพบว่าคนที่เป็นเบาหวาน แต่ยังไม่ได้ฉีดอินซูลิน ถ้าลดน้ำหนักได้มากกว่า 15 กก. เกือบ 90% สามารถหายจากเบาหวานได้ คือ เจาะเลือดแล้วค่าเป็นปกติ ไม่ต้องกินยา
6. อยากลดน้ำหนักให้เริ่มจากการปรับพฤติกรรม เดินเยอะขึ้น กินน้อยลง เลือกกินมากขึ้น หรือเริ่มออกกำลังกาย ฯ
7. คุมอาหารมากไป ฮอร์โมนในลำไส้ลดลง ทำให้เราหิวมากขึ้น ระวังตบะแตก เสี่ยงน้ำหนักเด้ง
8. “อาหารเสริมลดน้ำหนัก ไม่เท่ากับ ยา” อย. ให้ผ่านเพราะถูกสุขลักษณะ ไม่มีสารปนเปื้อน ไม่ได้หมายถึงการันตีประสิทธิภาพในการใช้
9. แต่ถ้ากินอาหารเสริมแล้ว ใจสั่น น้ำหนักลดลงเร็ว ปวดหัว หน้ามืด ท้องผูก นอนไม่หลับ อาจจะมีตัวยาลดน้ำหนักผสมอยู่ได้ อยากรู้ ต้องส่งตรวจ
10. “ยาลดน้ำหนักที่ปลอดภัยมีอยู่จริง” แต่ต้องสั่งโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากยาแต่ละชนิดมีข้อบ่งชี้ในการใช้ และมีผลข้างเคียง ดังนั้นแต่ละคนจึงเหมาะกับยาไม่เหมือนกัน ** กินยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรม เห็นผลมากกว่า
11. หมอจะสั่งจ่ายยาลดน้ำหนักให้สำหรับคนที่มี BMI 30 ขึ้นไป หรือ BMI 27 ที่มีโรคหรืออาการแทรกซ้อน
12. “ผ่าตัดลดความอ้วน” ทำได้ สำหรับคนที่ BMI 40 ขึ้นไป หรือ BMI 35 ที่มีโรคหรืออาการแทรกซ้อน
13. การดูดไขมัน หรือผ่าตัดไขมัน ช่วยในเรื่องของความสวยงาม ไม่ช่วยรักษาโรคอ้วน เพราะไขมันในช่องท้องไม่ได้หายไป .. และควรมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด เช่น คนที่น้ำหนักตัวเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต
14. อยากมีซิคแพค ไขมันต้องน้อย และกล้ามเนื้อต้องหนา
15. Intermittent Fasting หรือ IF คือกลยุทธ์ในการลดปริมาณอาหาร กินตามปกติ แต่จำกัดด้วยเวลาหรือจำนวนมื้อ ไม่จำเป็นต้องทานอาหารเสริม แต่ควรกินโปรตีนเยอะ ๆ และออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อด้วย ไม่งั้นกล้ามเนื้อและการเผาผลาญลดลง
16. Ketogenic เริ่มจากการรักษาเด็กที่เป็นลมชัก เน้นกินคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก เมื่อร่างกายไม่ได้พลังงานจากน้ำตาลจะไปสลายไขมัน ช่วง 1-2 สัปดาห์แรก จะมีอาการเหมือนคนแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
17. Ketogenic ข้อดีคือน้ำหนักลดเร็ว ข้อเสีย คือถ้ากลับมากินแป้งแล้วน้ำหนักจะเด้ง ไขมันในเลือดจะสูงขึ้น ท้องอืดง่าย ออกกำลังกายไม่ได้ เพราะร่างกายไม่เอื้อ
18. Ketogenic ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง ต้องกินวิตามินและเกลือแร่เสริม และตับต้องดี เพราะใช้ตับในการสร้าง คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ ไม่ควรทำ
19. การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจะทำให้เรากินได้น้อยลง เนื่องจากรู้สึกอิ่มจนจุกตลอดเวลา กินยาก ใส่นานไม่ได้ เสี่ยงกระเพาะทะลุ ถ้าเป็นกรดไหลย้อน ไม่แนะนำ
ขอบคุณความรู้ดี ๆ จาก ผศ. พญ. ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร และ Novo Nordisk บริษัทด้านการดูแลรักษาสุขภาพระดับโลกที่มีนวัตกรรมและความเป็นผู้นำในการดูแลโรคเบาหวาน มามากกว่า 90 ปี